ข่าวประชาสัมพันธ์

news 26 06 2567

311736

311735

311734

311733

311732

311731

311730

311729

311728

311727

311726

311725

311723

311720

311719

311716

311715

311714

311687

311686

311685

311684

311683

311679

311678

7416

7415

7414

7413

311709

311708

311707

311706

311705

311704

311703

311702

311701

311700

01

02

03

04

05

06

07

08

09

010

011

012

013

014

015

016

017

018

019

020

021

022

023

024

025

026

027

028

029

030

031

032

033

034

035

036

037

040

041

043

044

045

046

047

048

049

050

051

052

  พุทธทาสภิกขุ เชื่อว่าหากเราเข้าใจสัจธรรมของโลกแล้วก็จะเห็นว่าความจริงมีอยู่หนึ่งเดียว ไม่แบ่งแยกศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม อย่างไรก็ตาม การค้นหาความจริงในแนวทางของพุทธทาสภิกขุผู้ประกาศตนว่าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า ก็เป็นไปในวิถีพุทธ 
แนวคิดหลักของท่านพุทธทาสคือ "จิตว่าง" หรือความว่างจากความมีตัวตนและความเป็นเจ้าของ ในที่นี้ ท่านไม่ได้หมายความว่าจิตว่างหมายถึงการไม่คิด หรือไม่รู้สึกอะไร แต่คือการคิดและรู้สึก แล้วก็ทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ย้ำคิดย้ำทำ นับเอามันมาเป็นภาระหรือประกอบเป็นตัวตนของเรา แค่เห็นมันเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปยึดติดกับมัน   
   พุทธทาสภิกขุเห็นต่างจากพุทธศาสนากระแสหลักของไทยในเวลานั้นว่าการบรรลุธรรมต้องอาศัยบุญบารมีหลายชาติหรือต้องทำบุญด้วยการประกอบพิธีกรรม แต่เห็นว่าการบรรลุธรรมนั้นสามารถทำได้เดี๋ยวนี้ ทำได้ที่ใจ โดยไม่ต้องบวชก็ได้ แต่ผ่านการปฏิบัติในชีวิตประจำวันโดยการฝึกจิตไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นกับทุกสิ่งที่ไม่แน่นอนและนำพา
ความทุกข์ต่างๆ เข้ามา ซึ่งรวมทั้งบุญกรรม และพิธีกรรมแบบพุทธเองก็ด้วย

 การศึกษาพุทธศาสนาในมุมมองนี้เรียกว่า
"โลกุตรธรรม" คือไม่ได้เป็นธรรมะที่เกี่ยวข้องกับการทำยังไงให้รวย การดูแลคนรัก หรือการแก้กรรม (เรียกว่าโลกียธรรม) แต่มีการกำหนดเป้าหมายเป็นนามธรรม คือมุ่งเน้นการบรรลุนิพพาน หรือหยุดการเวียนว่ายตายเกิดที่พุทธศาสนาเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น และทำให้เราเป็นทุกข์ อย่างไรก็ตาม พุทธทาสภิกขุพยายามทำให้โลกุตรธรรมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การทำจิตว่างเวลาทำงานทำให้ทำงานต่อไปได้เรื่อยๆ อย่างไม่สับสนเคร่งเครียด และก็ได้ปฏิบัติธรรมไปด้วย หรือธรรมะคือการอยู่กับธรรมชาติ กลืนไปกับความเป็นไปของธรรมชาติ เป็นต้น คือให้เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันเป็นการปฏิบัติธรรมก็ได้ ทำให้ชนชั้นกลางและผู้มีภาระหน้าที่ในชีวิตประจำวันที่ไม่อาจะละทิ้งทั้ง
การงานและภาระทางจิตวิญญาณหันมาให้
ความสนใจเป็นอันมาก จนทำให้การอธิบายธรรมะของพุทธทาสภิกขุแตกสายออกไปอย่างหลากหลาย ถูกผูกโยงกับแนวคิดอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งในไทยและทั่วโลก

 
   พุทธทาสภิกขุ เดิมชื่อ นายเงื่อม พานิช บวชเรียนตามธรรมเนียมเมื่ออายุ 20 ปี ปรากฏหลักฐานว่าไม่ได้คิดจะบวชไม่สึก แต่หลังบวชไม่นานก็มีโอกาสได้เทศน์สอนธรรม พระเงื่อมประยุกต์เอาเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ มาอธิบายประกอบการเทศน์แทนการอ่านจากใบลานแบบเดิม จึงทำให้เข้าใจง่ายขึ้นและเป็นที่ชื่นชอบ กิจกรรมต่างๆ ที่ทำระหว่างที่บวช เช่นการเขียนหนังสือขำขันให้อ่านกันภายในวัดก็เป็นที่นิยม ทำให้พระเงื่อมมีชีวิตที่ดีในผ้าเหลือง จึงไม่คิดจะลาสิกขาอีก
ในวัย 26 ปี พระเงื่อมเข้าเรียนธรรมที่กรุงเทพฯ สอบได้เปรียญ 3 ประโยค สนใจในการท่องเที่ยว การพิมพ์ดีด งานเขียนของปัญญาชนและสิ่งใหม่ในเวลานั้น แต่กลับไม่เห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่จะนำพาไปถึงแก่นของพุทธศาสนา ในปี พ.ศ.2474 พระเงื่อมเดินทางกลับบ้านเกิดที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา และค้นคว้าทางจิตวิญญาณต่อไปโดยลำพัง ถัดมาจึงปวารณาตนเป็น "พุทธทาส" หรือทาสของพระพุทธเจ้าที่นั่น
pig07 ปีเดียวกันนั้น ท่านได้พบวันตระพังจิตซึ่งเป็นวัดร้าง จึงก่อตั้งสวนโมกขพลาราม หรือสวนแห่งความหลุดพ้นขึ้นที่นั่น ซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติและสอนธรรมในแบบของท่านเอง ภายหลังสวนโมกขพลารามย้ายมาอยู่ที่วัดธารน้ำไหล หรือสถานที่ตั้งปัจจุบัน
พุทธทาสภิกขุเริ่มอาพาธในปี 2534 และมรณภาพลงในปี 2536 ได้สั่งไว้ในพินัยกรรมว่าให้นำร่างที่มรณภาพแล้วไปเผาบนเชิงตะกอนบนยอดเขาพุทธทองในสวนโมกข์อย่างเรียบง่าย เพื่อให้เห็นถึงธรรมชาติของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

หมวดหมู่รอง